Blog

6 โรคที่เป็นสาเหตุ ต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก EP2

โรคหัวกระดูกสะโพกขาดเลือด (Avascular necrosis)

  • เป็นภาวะที่หัวกระดูกสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดการยุบตัวขอหัวกระดูกหัวสะโพก
  • พบบ่อยในคนที่มีอายุประมาณ 30 – 40 ปี
  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาสเตียรอยด์, ภาวะเลือดแข็งตัวง่าย, อุบัติเหตุกระดูกสะโพกเคลื่อนหรือคอกระดูกสะโพกหักเคลื่อน และการฉายรังสีบริเวณกระดูกสะโพก

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

  • ผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อม
  • เป็นรูปแบบหนึ่งของข้ออักเสบที่เกิดจากกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อเสื่อมสลายไป ทำให้ผิวที่ข้อไม่เรียบ เมื่อผิวข้อสะโพกที่ไม่เรียบมาเสียดสีกันก็เป็นเหตุให้ปวดข้อสะโพกและมีการเคลื่อนไหวที่ติดขัด

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

  • เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ ก่อให้เกิดอาการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ เกิดได้กับข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
  • มักจะมีอาการปวดข้อ ข้อบวม เคลื่อนไหวข้อลำบาก และมีอาการอักเสบแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดการทำลายของผิวข้อ
  • พบได้บ่อยในสองช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนในช่วง 50-60 ปี พบได้ทั้ง 2 เพศ

โรคข้อเสื่อมจากอุบัติเหตุ (Traumatic Arthritis)

  • เกิดตามหลังการบาดเจ็บหรือกระดูกหักบริเวณข้อสะโพกผิวข้ออาจถูกทำลาย ทำให้เกิดการปวดสะโพกข้อยึดเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมในที่สุด

โรคคอกระดูกสะโพกหัก (Femoral neck fracture)

  • พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ
  • เป็นผู้ที่มีโรคกระดูกพรุนที่ประสบอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสะโพก

ข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital Hip diseases)

  • สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค มีทั้งสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เชื้อชาติ สภาพแวดล้อมในครรภ์หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดข้อสะโพกเคลื่อนได้ง่าย เช่น ท้องแรกเป็นเด็กผู้หญิง คลอดในท่าก้น และมีประวัติในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน
  • เป็นข้อสะโพกเสื่อมที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อสะโพกพัฒนาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่มีอาการเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น